วันศุกร์ที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2557

จาก 'รงค์ วงษ์สวรรค์ ถึงนักเขียนหนุ่ม



คัดจาก จาก 'รงค์ วงษ์สวรรค์ ถึงนักเขียนหนุ่ม
โดย มาลี วรรณศิลป์
สยามรัฐสัปดาหวิจารณ์, 8-14 สิงหาคม 2542



"ขณะนี้มันทำท่าว่าอารมณ์ขันบนถนนหนังสือจะน้อยลงไป.."

"อันที่จริงผมเขียนเรื่องหนักนะ แต่พยายามเอาอารมณ์ขันมาสอดใส่ ถือคติว่าทำเรื่องยากให้ง่าย ทำหนักให้เบา"

"เรื่องสั้นหรือนวนิยายมีหลายแบบหลายลักษณะที่จะรับใช้สังคม ประชาชนก็ยังมึนงงเหมือนเดินอยู่ในเงามืด นักเขียนควรที่จะช่วยจุดเทียนสักเล่ม ให้คนมีแสงสว่าง ให้คนคลายอึดอัด"

"นักเขียนต้องยืนอยู่ฝ่ายเดียวกับประชาชน แต่ไม่ใช่ยืนหน้าบึ้ง ต้องยืนแบบให้กำลังใจกัน โอบไหล่ประคับประคองกันไป"

"ศัตรูของเราเปลี่ยนหน้า นักเขียนอย่าไปสับสน เราต้องพยายามจับศัตรูให้ได้ และพยายามเปลี่ยนหน้าไพ่สู้กับมัน อย่ามัวนั่งค่อนขอดตัวเองว่าเรายังเด็ก เราสับสน อย่าไปคิดอย่างนั้น.."

"เมื่อใครค้นพบแนวทางของตัวเอง เราจะดีใจมาก และภาวนาขอให้ไปถึงปลายทาง"

"การพบตัวเองไม่ง่าย เช่นเดียวกับพบศัตรูก็ไม่ง่าย"








วันเสาร์ที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2557

เรื่องสั้น : มาดามเถาวัลย์




นางเดินทางมาถึง ลากูน วิล.
วันจันทร์ที่ 5 เดือน 5 บ้านเลขที่ 5/55 เวลา 15.05 น.
เบิกแพรคลุมป้ายตามฤกษ์พระจันทร์เสวยทองหยิบฝอยทอง
เวลาไม่นานนางกลายเป็นความรักนับถือในตำบลของเรา...


ประวัติการพิมพ์

- มติชนสุดสัปดาห์ (มิถุนายน 2540)
- ฝนเหล็ก - ไฟปืน '๓๕ (2546)






เรื่องสั้น : การกลับมาของไอ้ผอมกับไอ้ดำ




มันสองคนออกจากบ้าน
พร้อมกับอาวุธและอุปกรณ์ครบครัน
เพื่อทำสงครามกับความหิว
และ-ตามอุดมการณ์ของมัน...


ประวัติการพิมพ์

- ฟ้าเมืองไทย (เมษายน 2517)
- 23 เรื่องสั้น (2518)
- แกงส้มผักบุ้ง 22.00 น. และหลายเรื่องสั้นของ 'รงค์ วงษ์สวรรค์ (หนุ่ม) (2521)
- ใกล้หมอ ปีที่ 3 ฉบับที่ 9 (กันยายน 2522)
- สามเหลี่ยมในวงกลม (2529)





ขุดรากอารมณ์ภาษา 'รงค์ วงษ์สวรรค์



คัดจาก ขุดรากอารมณ์ภาษา 'รงค์ วงษ์สวรรค์ นักเขียนใหญ่ไฟยังแรง
โดย สัจภูมิ ละออ
มติชนสุดสัปดาห์ ปีที่ 13 ฉบับที่ 683, 24 กันยายน 2536


"เราเขียนหนังสือด้วยความรู้สึก เรารู้สึกอย่างไรก็เขียนอย่างนั้น

"จะทำอย่างไรถึงอธิบายความในใจของตัวเองให้ผู้อ่านเข้าใจหรือเห็นภาพชัดเจน ก็ลองทำไปเรื่อยๆ บากบั่นอยู่นาน.."

"อ่านมามากๆ ก็มีความรู้สึกว่า เอ้..ทำไมต้องเขียนเหมือนคนนั้นคนนี้เขา ก็คิดมาเรื่อยๆ มันก็ออกมาเอง ไม่ได้มานั่งปั้นคำนั้นคำนี้ไม่เคยหรอก เป็นความสัตย์จริง คือบางคนว่ามานั่งคิดประดิษฐ์ไม่ใช่น่ะ"

"เรื่องภาษาเป็นเรื่องที่เถียงกันไม่จบ เพราะแต่ละคนต่างถือว่าตัวเองมีสิทธิที่จะเป็นเจ้าของภาษา ทุกคนก็อยากใช้ภาษาของตัวเองให้เป็นที่เข้าใจมากที่สุด ใช้เพื่อศิลปะหรือประโยชน์อะไรก็ตาม"

"คือตัวเราจริงๆ กับที่คนอื่นมองมาจากข้างนอกนี่คล้ายๆ ว่าจะเป็นคนละคนนะ คนภายนอกมองเราเป็นคนเหลวไหล เป็นคนไร้สาระ ใช้ชีวิตแบบนกขมิ้นอะไรทำนองนั้น หรือไม่ก็บาร์ฟลาย แมงบาร์ อย่างที่เราเขียนถึงเสมอๆ ทีนี้ชีวิตการทำงานของเราไม่ใช่อย่างนั้น"

"เราเป็นคนเก็บข้อมูล มีแฟ้มเอกสาร มีอะไรมากมายในการทำงานโดยเฉพาะการเขียนหนังสือเป็นอาชีพเลยเนี่ย มันต้องประกอบไปด้วยอะไรมากมายเหลือเกิน จะต้องมีคลิปปิ้งจากหนังสือพิมพ์ จะต้องมีภาพถ่ายเก็บไว้ในแฟ้ม สำหรับไว้ทบทวนความทรงจำ เรามีแถบบันทึกไว้บันทึกเสียงคนที่เราอยากจะพูดด้วย"

"ในยุคหลายๆ ปีก่อนโน้นมันไม่มีแถบบันทึกเสียง ต้องใช้จดเอา แอบฟังเขาพูดอะไรก็คอยจดๆ เอาไว้ เพราะคิดว่านั่นเป็นวิธีทำงานที่ดีที่สุด"

"การคิดต้องอยู่บนพื้นฐานความเป็นจริง แต่ความจริงน่ะเขียนไม่ได้ทั้งหมดหรอก มันก็ต้องมากลั่นกรอง.... นี่แหละ ศิลปะของการเขียน มันอยู่ตรงนี้"

"เราเป็นคนเกลียดคำว่าระบบนะ เราไม่ชอบได้ยินเลยในชีวิต แต่เราก็จำเป็นที่จะต้องมีอะไรที่คล้ายๆ กับระบบเหมือนกัน จะต้องมีเวลา จะต้องมีวันที่ วันไหนจะทำอะไรต้องตั้งใจไว้ เราเป็นนักเขียนอาชีพ ไม่ใช่นึกจะเขียนอะไรก็เขียนเอา อย่างนั้นไม่ใช่ อย่างนั้นต้องเป็นนักเขียนสมัครเล่น"

"นักเขียนอาชีพต้องทำตามเงื่อนไข มีอะไรผูกพันอยู่กับบรรณาธิการ อยู่กับผู้อ่าน มันก็ต้องกำหนดสิว่าวันหนึ่งจะทำอะไร แต่บอกได้จริงๆ เลยว่า ตัวเองนี่ไม่ได้คิดเรื่องอะไรนอกจากคิดเรื่องการเขียนหนังสือ"

"บอกรุ่นน้องเสมอว่าต้องทำงานหนัก เราจะต้องตั้งใจทำจริงๆ หลังเขียนแล้วต้องอ่านทบทวนให้ดีก่อนส่งบรรณาธิการ ต้องทำด้วยความระมัดระวัง ด้วยความเต็มใจที่จะทำออกมา เมื่อเขียนออกมาอ่านดูบอกตัวเองว่าใช่แล้ว อย่างนี้ละมันเป็นวิธีหนึ่งที่จะสำรวจตัวเอง"