วันอังคารที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2558

'รงค์ วงษ์สวรรค์ ร่ายป่า-ราวดอย



คัดจาก 'รงค์ วงษ์สวรรค์ ร่ายป่า-ราวดอย 
สานใจคนรักป่า, เล่มที่ 47 กรกฎาคม-สิงหาคม 2544



"อาเป็นคนรักป่า แต่ไม่ใช่นักอนุรักษ์ป่าอย่างที่เขาหมายถึง นักอนุรักษ์ป่าเขาหมายถึงใครไม่รู้ หมายถึงคนที่นั่งอยู่ในห้องแอร์หรือเปล่า นานๆ เดินออกมาทีเห็นป่าก็ตื่นเต้นและคิดจะอนุรักษ์หมด ต้นไม้ล้มหนึ่งต้นก็นั่งร้องไห้

"อารักป่าโดยความรู้สึกว่าป่ากับคนต้องอยู่ด้วยกันได้ ต้องเอื้อเฟื้อต่อกันได้ คือคนก็ต้องไม่รังแกป่า ป่าไม่รังแกคนอยู่แล้ว แต่ว่าจะอยู่กันอย่างไรนี้คือปัญหา

"การทำลายป่าในประเทศไทย มันเริ่มต้นในสมัยรัฐบาลทหาร รัฐบาลในทศวรรษที่ผ่านมาที่มีความคิดเผด็จการเขาทำลายป่ากันแทบทุกภาคของประเทศไทย เพื่อจะตัดไม้เป็นธุรกิจ คนธรรมดาไม่มีใครทำลายป่าได้ ไม่มีอำนาจ ไม่มีเครื่องมือ เครื่องมือที่สำคัญที่สุดคือปืน

"ต้นไม้ใหญ่ๆ มันถูกทำลายไปหลายสิบปีแล้ว อย่าลืมที่เราเรียกว่าต้นไม้ใหญ่นั้นอายุควรจะ 100 ปีขึ้นไป 200 ปีถึง 300 ปี โดนตัดขายไปหมดแล้ว ตัดขายไปเป็นทุนรอนปฏิวัติรัฐประหาร ตัดไปเพิ่มต้วเลขในบัญชีธนาคาร

"การเป็นคนรักป่าไม่ได้แปลว่าเป็นคนไม่กินใบไม้ กินนะ ต้องกินใบไม้ ต้องหักแขนหักขาป่าบ้าง เอามาทำฟืน ไม่ใช่ปล่อยให้ฟืนมาหล่นใส่หลังคาบ้าน

"คนอยู่ในป่าคารวะป่า เขามีกฎเกณฑ์ เขาจะกลัวต้นไม้ใหญ่ๆ มากเหลือเกินว่ามันจะมีผีสางนางไม้ อย่างนี้จะทำให้ป่าไม่ตาย แต่เขาควบคุมตัวเองไม่ได้ เมื่อจำนวนประชากรมากขึ้น และเมื่อความเจริญอย่างน่าทุเรศที่ภาษารัฐบาลเรียกว่าการ "พัฒนา" ทะลักเข้ามาในหมู่บ้าน

"ชาวบ้านปลูกพริก ก็ปลูกกันทุกบ้านจะไปขายใครที่ไหน แล้วเขาทำไง เขาต้องรุกป่าสิครับ พอมีคนมาแนะนำให้ปลูกกระเทียม เอาแล้ว ใครห้ามก็ไม่ได้หรอก...

"ต้องส่งเสริมให้มีคนแบบพะตีจอนิ โอโดเชา น่าจะมีคนอย่างนั้นมากๆ และต้องมีคนแบบนี้มาเอดูเคทกับคนที่เขาอยู่ในป่าด้วย แต่ว่าไม่ใช่ไปปลุกระดมให้เป็นศัตรูกับองค์กรของรัฐ องค์กรของรัฐก็เหมือนกันจะต้องถ่อมตัวลงมา ให้มาเดินคุยกับคนในป่า รู้จักยกมือไหว้กับคนในป่าเขาบ้าง

"จะแก้ปัญหาคนในป่าต้องเข้าใจคนในป่า เหมือนอามาอยู่ที่นี่อาเน้นเสมอ อามาน้อมต่อป่านะ ต้องศึกษาว่าใบไม้ไหนจะร่วงเดือนไหน จะโปร่งเดือนไหน เดินดูแลเขา พอเห็นเขาจะเป็นโรคต้องพรูนนิ่งซิสเต็ม ไปตัดกิ่งตัดก้านที่มีเชื้อรา เชื้อโรค .. นี่ต้องศึกษาเขา ดูแลเขา"






วันพฤหัสบดีที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2558

อ่าน 'รงค์ วงษ์สวรรค์ (2) : บทสัมภาษณ์/บันทึกสนทนา (update 17-01-59)




'รงค์ วงษ์สวรรค์ / ขรรค์ชัย บุนปาน
วารสารโบราณคดี, ปีที่ 2 ฉบับที่ 2 มกราคม-มีนาคม 2512 [รวมอยู่ใน วานปีศาจตอบ]

ปรายตามองสาว
ลลนา, ฉบับที่ 3 ปักษ์แรก กุมภาพันธ์ 2516 [รวมอยู่ใน วานปีศาจตอบ]

สัมผัสความรู้สึกหลังแผงหนวดของ 'รงค์ วงษ์สวรรค์ / พราย ภูวดล (ประภัสสร เสวิกุล)
ขวัญดาว, ปีที่ 1 ฉบับที่ 7 พฤศจิกายน 2517

พบนักเขียน 'รงค์ วงษ์สวรรค์ (หนุ่ม)
สกุลไทย, ปีที่ 24 ฉบับที่ 1216 อังคารที่ 7 กุมภาพันธ์ 2521

'รงค์ วงษ์สวรรค์ กับกามารมณ์ของเขา / ชาวา กัญญ์ (ณิพรรณ กุลประสูตร)
หนุ่มสาว, ฉบับที่ 14 พฤษภาคม 2521

'รงค์ วงษ์สวรรค์
เอ็กเซ็กคิวทีฟ, ปีที่ 2 ฉบับที่ 12 2524

นัดพบ 'รงค์ วงษ์สวรรค์ (หนุ่ม) / ไพลิน รุ้งรัตน์
สยามรัฐสัปดาหวิจารณ์, ปีที่ 29 ฉบับที่ 26 วันอาทิตย์ที่ 19 ธันวาคม 2525 [รวมอยู่ใน วานปีศาจตอบ]

วานปีศาจตอบ
ถนนหนังสือ, ปีที่ 2 ฉบับที่ 6 ธันวาคม 2527 [รวมอยู่ใน วานปีศาจตอบ]

จากเรือนริมน้ำของ 'รงค์ วงษ์สวรรค์ / พิมพ์สี
แพรว, มีนาคม 2528 [รวมอยู่ใน วานปีศาจตอบ]

หลายคำตอบของ 'รงค์ วงษ์สวรรค์ 
ถนนหนังสือ, ปีที่ 5 ฉบับที่ 3 กันยายน 2530 [คัดจาก ถึงป่าคอนกรีท]

'รงค์ วงษ์สวรรค์ / อารี แท่นคำ
The Quiet Storm, ฉบับที่ 67/2530



'รงค์ วงษ์สวรรค์ นักเขียนผู้รุ่มรวยอารมณ์ คนที่คุณอาจรู้จัก หรือไม่รู้จักเลย
Looks, ปีที่ 5 ฉบับที่ 60 ตุลาคม 2531

รงค์ วงษ์สวรรค์ พ.ศ.นี้ทำอะไรอยู่
HI-CLASS, ปีที่ 6 ฉบับที่ 69 มกราคม 2533

อิสรชนคนของวรรณกรรม 'รงค์ วงษ์สวรรค์ / จันทร์สถาพร
คอลัมน์คนบนถนนนักเขียน, WRITER, ปีที่ 1 ฉบับที่ 2 พฤศจิกายน 2535

ขุดรากอารมณ์ภาษา 'รงค์ วงษ์สวรรค์ นักเขียนใหญ่ไฟยังแรง / สัจภูมิ ละออ
มติชนสุดสัปดาห์, ปีที่ 13 ฉบับที่ 683, 24 กันยายน 2536

ชีวิตจริง และความจริงของชีวิต 'รงค์ วงษ์สวรรค์ นายภาษาแห่งสวนทูนอิน / สัจภูมิ ละออ
ศิลปวัฒนธรรม, ปีที่ 15 ฉบับที่ 1 พฤศจิกายน 2536

'รงค์ วงษ์สวรรค์ พญาอินทรีแห่งดงอักษร
GM, ปีที่ 8 เล่มที่ 120 ปักษ์หลัง เมษายน 2537

ลูกผู้ชายชื่อ ’รงค์ วงษ์สวรรค์ คนของแม่น้ำ แผ่นดิน และป่าไพร / อรสม สุทธิสาคร
สารคดี, ปีที่ 10 ฉบับที่ 113 กรกฎาคม 2537 [รวมอยู่ใน วานปีศาจตอบ]

พญาอินทรีแห่งฟ้าอักษร ’รงค์ วงษ์สวรรค์ / จารึก วิสิฏฐา
สีสัน, ปีที่ 7 ฉบับที่ 10 พฤษภาคม 2538

'รงค์ วงษ์สวรรค์ นักเขียนผู้ไม่เคยมีวันหยุด
วาไรตี้, ปีที่ 4 ฉบับที่ 60 ปักษ์หลัง กรกฎาคม 2539

กรรมกรในงานศิลป์ ’รงค์ วงษ์สวรรค์
ขวัญเรือน, ปีที่ 29 ฉบับที่ 603 ปักษ์แรก มกราคม 2540



'รงค์ วงษ์สวรรค์ ผมเป็นคนแปลกหน้าสำหรับกรุงเทพ!
WRITER, ปีที่ 6 ฉบับที่ 9 กันยายน 2540

ในโลกของนักอ่าน ในนามผู้เฝ้ามองสังคม
คอลัมน์ห้องหนังสือ, Life & Decor, ปีที่ 7 ฉบับที่ 73 กันยายน 2540

'รงค์ วงษ์สวรรค์ พญาอินทรีบินเหนือดอยสูง
WRITER, ปีที่ 7 ฉบับที่ 6 (61) มิถุนายน-กรกฎาคม 2541 [รวมอยู่ใน วานปีศาจตอบ]

น้ำค้างหยดเดียวในความเป็น 'รงค์ วงษ์สวรรค์
ผู้จัดการรายวัน, วันพุธที่ 14 กรกฎาคม 2542

'รงค์ วงษ์สวรรค์ คืนถิ่นลุ่มน้ำแม่กลอง (1)
สยามรัฐสัปดาหวิจารณ์, 25-31 กรกฎาคม 2542 [รวมอยู่ใน วานปีศาจตอบ]

'รงค์ วงษ์สวรรค์ คืนถิ่นลุ่มน้ำแม่กลอง (2)
สยามรัฐสัปดาหวิจารณ์, 1-7 สิงหาคม 2542 [รวมอยู่ใน วานปีศาจตอบ]

จาก 'รงค์ วงษ์สวรรค์ ถึงนักเขียนหนุ่ม
สยามรัฐสัปดาหวิจารณ์, 8-14 สิงหาคม 2542 [รวมอยู่ใน วานปีศาจตอบ]

ชีวิตของตัวอักษร 'รงค์ วงษ์สวรรค์ / ยุทธนา วรุณปิติกุล
เสาร์สวัสดี กรุงเทพธุรกิจ, ฉบับที่ 56 วันเสาร์ที่ 17 มิถุนายน 2543

'รงค์ วงษ์สวรรค์ บน Milestone เรท X / องอาจ ฤทธิ์ปรีชา
M, ปีที่ 2 เล่มที่ 20 ตุลาคม 2543

’รงค์ วงษ์สวรรค์ รำพึงรำพันจากห้วยบวกเขียด / สัจภูมิ ละออ
จุดประกายวรรณกรรม กรุงเทพธุรกิจ, ปีที่ 14 ฉบับที่ 4517 วันเสาร์ที่ 3 กุมภาพันธ์ 2544



'รงค์ วงษ์สวรรค์ ร่ายป่า-ราวดอย
สานใจคนรักป่า, เล่มที่ 47 กรกฎาคม-สิงหาคม 2544

รงค์ วงษ์สวรรค์...งูยังไม่ตาย วัดความยาวไม่ได้
พลเมืองเหนือ, ฉบับที่ 29 ประจำวันที่ 13-19 พฤษภาคม 2545

ลาบหลู้ซาลูน บ้านเทวดาเป็นใจของ 'รงค์ วงษ์สวรรค์ / "มนูญ"
บ้านและสวน, ปีที่ 26 ฉบับที่ 310 มิถุนายน 2545

'รงค์ วงษ์สวรรค์ the writer's secret 
HEALTH & CUISINE, ปีที่ 3 ฉบับที่ 28 พฤษภาคม 2546

...with อาว์ 'รงค์ and a dog a day (HA-HA) : บทสนทนาของคน(หนุ่ม) - but a breath and a shadow! 
คอลัมน์ a day with a view, a day, ปีที่ 4 ฉบับที่ 41 มกราคม 2547 [รวมอยู่ใน วานปีศาจตอบ]

สุภาพบุรุษเสรีชน : 'รงค์ วงษ์สวรรค์ / ตติกานต์ อุดกันทา
a day weekly, ปีที่ 1 ฉบับที่ 13, 13-19 สิงหาคม 2547

'รงค์ วงษ์สวรรค์ พญาอินทรีแห่งดงอักษร
GM, ปีที่ 20 เล่มที่ 333 เมษายน 2549

Beat on, Beat in, Beat out ของ 'รงค์ วงษ์สวรรค์ / ชัยพร อินทุวิศาลกุล
Underground Buleteen วารสารหนังสือใต้ดิน, vol. 11 เมษายน 2550

เยือนสวนทูนอิน อ่านชีวิต ความคิด 75 กะรัต 'รงค์ วงษ์สวรรค์
ขวัญเรือน, ฉบับที่ 855 ปักษ์แรก กรกฎาคม 2550

เยี่ยมรังพญาอินทรี 'รงค์ วงษ์สวรรค์ สวนทูนอิน...สวรรค์บนดิน
ชีวิตต้องสู้, ปีที่ 15 ฉบับที่... 16-31 ตุลาคม 2550



เยือนเชียงใหม่ ไต่ดอยสูง สนทนาประสานักเดินทาง กับ 'รงค์ วงษ์สวรรค์
ยูงทอง 43 ฉบับรักเดินทาง, กุมภาพันธ์ 2551

เสียงพูดสุดท้าย 'รงค์ วงษ์สวรรค์ / วรพจน์ พันธุ์พงศ์
สารคดี, ฉบับที่ 290 เมษายน 2552 [คัดจาก เสียงพูดสุดท้าย]

สนทนากับ 'รงค์ วงษ์สวรรค์
ศิลปวัฒนธรรม, ปีที่ 30 ฉบับที่ 7 พฤษภาคม 2552

'รงค์ วงษ์สวรรค์ ในฐานะพ่อ / วรพจน์ พันธุ์พงศ์
Openbooks Review, No.1 summer 2009 [คัดจาก เสียงพูดสุดท้าย]

สัมผัสความรู้สึกหลังแผงหนวด 'รงค์ วงษ์สวรรค์
ขวัญเรือน, ฉบับที่ 906 ปักษ์หลัง สิงหาคม 2552






**ขอบคุณผู้เอื้อเฟื้อข้อมูล

**ช่วยกันเพิ่มเติมได้ครับ ข้อมูลนี้เป็นข้อมูลสาธารณะเพื่อการค้นคว้าอ้างอิง บล็อกพญาอินทรีเป็นเพียงผู้รวบรวม





สนับสนุนโดย ร้านหนังสือ Book Eden

วันเสาร์ที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

หนังสือที่เกี่ยวเนื่องกับ 'รงค์ วงษ์สวรรค์













อนุสรณ์


ที่ระลึกงานพระราชทานเพลิงศพ 'รงค์ วงษ์สวรรค์ (เล่มใหญ่) (ไรท์เตอร์ พ.2/57)

ที่ระลึกงานพระราชทานเพลิงศพ 'รงค์ วงษ์สวรรค์ (เล่มเล็ก)










ถ้อยคำสัมภาษณ์


'รงค์ วงษ์สวรรค์ บน Milestone เรท X / องอาจ ฤทธิ์ปรีชา (หนังสือทำมือ)

วานปีศาจตอบ (มติชน พ.1/49 / ฟรีฟอร์ม พ.2/52)

เสียงพูดสุดท้าย 'รงค์ วงษ์สวรรค์ / วรพจน์ พันธุ์พงศ์ (ไต้ฝุ่น พ.1-พ.2/52 / บางลำพู พ.3/57)











เนื่องจากงานเขียน


'รงค์ วงษ์สวรรค์ สำเริง (มติชน พ.1/39) 

พจนานุกรม 'รงค์ วงษ์สวรรค์ ฉบับย่น พ.ศ.2547 (แจกฟรีกับนิตยสาร a day ฉบับที่ 41)

เพรียวนม (ไรท์เตอร์ พ.1/57)










เหลี่ยมมุมชีวิต


'รงค์ วงษ์สวรรค์ ผู้ยิ่งยงแห่งสวนทูนอิน / ถวัลย์ มาศจรัส (มิติใหม่ พ.1/39)

อินทรีผงาดฟ้า / ณรงค์ จันทร์เรือง (ประพันธ์สาส์น พ.1/52)

โบยบินอย่างอินทรี / ณรงค์ จันทร์เรือง (ประพันธ์สาส์น พ.1/52) 

Bridge สะพานข้ามเวลาของ 'รงค์ วงษ์สวรรค์ และเพื่อนหนุ่ม (โอเพ่นบุ๊กส์ พ.1/52)

สวนนักเขียน 'รงค์ วงษ์สวรรค์ / แพร จารุ + ถนอม ไชยวงษ์แก้ว (ถนอมแพร พ.1/53)








สนับสนุนโดย ร้านหนังสือ Book Eden

วันพฤหัสบดีที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

อเมริกันตาย



๐ พิมพ์ครั้งที่ 1 แหล่งพิมพ์เรือใบ พ.ศ.2517



- คืนนี้นอนโรงแรม
- โจอาย
- เสียงถอนใจของกลางคืน
- 216 ชื่อของคนอเมริกัน
- อเมริกันตาย!

นับเป็น "สาระ-อเมริกันคดี" อีกเล่มหนึ่งของ 'รงค์ วงษ์สวรรค์ ประกอบด้วยงานเขียนในรูปแบบบทความ-สารคดี 3 เรื่อง และรูปแบบเรื่องเล่าและเรื่องสั้นอย่างละเรื่อง บอกเล่าชีวิตผู้คนและสังคมคนอเมริกันบางแง่มุม เช่น ธุรกิจจัดงานศพอันเป็นที่มาของชื่อหนังสือ และเรื่องราวเกี่ยวกับธุรกิจโรงแรมฮอลิเดย์ อินน์

เท่าที่มีข้อมูล..เนื้อหาในเล่มนำมาจากงานเขียนชุด หน้าต่างอเมริกัน ที่ 'รงค์ วงษ์สวรรค์ เขียนต่อเนื่องใน ชาวกรุง ตั้งแต่ปี 2506-2511

หากเปิดหนังสือของ 'รงค์ วงษ์สวรรค์ ช่วงปี 2512-2515 ตรงท้ายเล่มที่มีประกาศโฆษณาหนังสือออกใหม่และหนังสือที่เตรียมจะจัดพิมพ์ จะพบว่ามีบางเล่มไม่ได้พิมพ์ออกมาตามที่แจ้งไว้ หนึ่งในนั้นคือ กำสรวลอเมริกัน หรือ นิราศดิบ ขบวน 2 ในรูปเล่มปกแข็ง

เป็นไปได้ว่า อเมริกันตาย ก็คือ กำสรวลอเมริกัน หรือ นิราศดิบ ขบวน 2 ที่ปรับเปลี่ยนลดขนาดลงมานั่นเอง





pya-insee's note : เรื่อง เสียงถอนใจของกลางคืน เป็นเรื่องเดียวกับ "วันวานคุณก็ยังไม่รู้จักหล่อน" ในหนังสือ หนามดอกไม้ ต่างกันตรงที่ใน อเมริกันตาย เรื่องราวเกิดขึ้นในสหรัฐอเมริกา ตัวละครเป็นชาวอเมริกัน ฉากหลังและรายละเอียดต่างๆ เป็นต่างประเทศทั้งหมด คาดว่าเรื่อง เสียงถอนใจของกลางคืน เขียนขึ้นก่อน จากนั้นจึงถูกปรับเปลี่ยนเป็นเรื่องราวแบบไทยๆ รวมอยู่ใน หนามดอกไม้






วันศุกร์ที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2558

นิราศดิบ พิมพ์ครั้งที่ 2




[คำนำ]


"ศีล ๓ ข้อที่เขายึดถือในการเรียนรู้ชีวิต คือผู้หญิง ดนตรี และเหล้า"

เรื่องเล่าจาก แซน แฟรนซิสโก ในรูปแบบ semi-fiction article ชั้นเชิงอันเป็นทางถนัดของ ‘รงค์ วงษ์สวรรค์

นี่คืองานในวัยหนุ่มที่เขียนวาดความหนุ่มได้อย่างมีสีสัน ครบรส และเร่าร้อน

บุญและบาป ความดีและความเลว ความฟุ้งเฟ้อและความสงบเรียบง่าย เป็นประเด็นหลักที่เขาครุ่นคิด ท้าทาย และสอดแทรกไว้ตลอดเวลา ไม่ว่าพบปะสนทนากับใคร ไม่ว่าในโบสถ์หรือในบาร์

คล้ายเป็นช่วงที่เขาถกเถียงและไถ่ถามตัวเองอย่างเข้มข้น ถามและพยายามค้นคิดหาความจริงของชีวิต

จุดเด่นคือเขาไม่ได้ลอกคัมภีร์มาเขียน ไม่ได้มีเจตนาที่จะขึ้นธรรมาสน์เทศนา

เขาโยนชีวิตลงไปลุย และบันทึกทุกประสบการณ์มาบอกเล่า

เล่าด้วยสำนวนของเพื่อนสนิทที่บรรจงรินเหล้าใส่แก้ว แล้วนั่งคุยกัน

ผลงานชุดนี้ตีพิมพ์ครั้งแรกในปี พ.ศ.2511 โดยสำนักพิมพ์ประพันธ์สาส์น

น่าเสียดายที่เราไม่สามารถสืบค้นได้ว่าช่างฝีมือคนใดเป็นผู้สร้างสรรค์ภาพปก

อย่างไรก็ดี ลักษวงษ์ ประกิตภูพิสุทธิ์ ได้นำภาพนั้นมาดัดแปลงเพื่อใช้ในการตีพิมพ์ครั้งใหม่ ด้วยสำนึกในความงาม และความดิบของมัน


สำนักพิมพ์ไรท์เตอร์






วันอังคารที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2558

สามเหลี่ยมในวงกลม...อีกหนึ่ง rare item



๐ พิมพ์ครั้งที่ 1 สำนักพิมพ์กอไผ่ มีนาคม พ.ศ.2529



กล่าวได้ว่ารวมเรื่องสั้น สามเหลี่ยมในวงกลม อยู่อันดับต้นๆ ในทำเนียบ rare item ของ 'รงค์ วงษ์สวรรค์ 

rare item คือ "หายาก" เป็นที่ต้องการของนักสะสม บางคนอาจมองว่าพบเจอได้ยากกว่าปกแข็งของ 'รงค์ วงษ์สวรรค์ บางเล่มเสียอีก

ในเล่มไม่มีคำนำสำนักพิมพ์เล่าถึงที่มาที่ไปของการจัดพิมพ์ นอกจากคำโปรยโฆษณาบนปกหน้าว่า "นักเขียนเรื่องสั้นดีเด่น 100 ปีเรื่องสั้นไทย" ซึ่ง 'รงค์ วงษ์สวรรค์ ได้รับการประกาศเกียรติโดยสมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทยก่อนหน้านี้ไม่นาน

การจัดพิมพ์จึงอาจเกิดขึ้นโดยเจตนาสอดรับกับการประกาศผลดังกล่าว

จุดที่ยืนยันได้ประการหนึ่งคือ รวมเรื่องสั้นชุดนี้ไม่ได้เป็นชุดงานเขียนที่มาจากแฟ้มต้นฉบับดั้งเดิมของ 'รงค์ วงษ์สวรรค์ เนื่องจากเรื่องสั้นทั้ง 16 เรื่อง เคยผ่านการรวมเล่มมาแล้ว ส่วนใหญ่อยู่ใน 23 เรื่องสั้น และ ไม่นานเกินรอ เสริมด้วย 2 เรื่องจาก แม่ม่ายบุษบง ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 1

อย่างไรก็ดี เมื่อเป็นเล่มหายากแล้วควรจะนำมาพิมพ์เผยแพร่ซ้ำอีกครั้งหรือไม่ สำหรับเราคิดว่าไม่จำเป็น

เหตุผลแรกที่กล่าวไว้แล้วคือ เพราะ สามเหลี่ยมในวงกลม ไม่ได้เป็นชุดงานเขียนที่มาจากแฟ้มต้นฉบับดั้งเดิมของ 'รงค์ วงษ์สวรรค์ ดังนั้น ในปัจจุบันหากสำนักพิมพ์ใดจะพิมพ์เรื่องสั้นนอกเหนือจากรวมเรื่องสั้นจากแฟ้มต้นฉบับเล่มหลักๆ อย่าง 23 เรื่องสั้น ไม่นานเกินรอ มาดเกี้ยว และ ฝนเหล็ก--ไฟปืน '๓๕ แล้ว บรรณาธิการสามารถทำหน้าที่คัดสรรเองพร้อมกับให้ชื่อหนังสือใหม่ได้เลย เป็นเครดิตของบรรณาธิการและสำนักพิมพ์ด้วย แทนที่จะหยิบเล่มเก่าที่คนอื่นทำไว้มาพิมพ์ใหม่

อีกเหตุผลคือ เรื่องสั้น 16 เรื่อง ใน สามเหลี่ยมในวงกลม ซ้ำกับเรื่องสั้นใน ไม่นานเกินรอ และ มาดเกี้ยว ซึ่งมีฉบับพิมพ์ใหม่หมาดๆ รวมกันถึง 10 เรื่อง ถ้าพิมพ์ออกมาในช่วงเวลาใกล้เคียงกันคงไม่คุ้มสำหรับผู้อ่านเท่าใดนัก

ดังนั้น ปล่อยให้เป็น rare item พิมพ์ครั้งแรกและครั้งเดียวไปก่อนดีกว่า







วันจันทร์ที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2558

รวมคอลัมน์ # 7 : ควันบุหรี่ & พิมพ์ดีด



คอลัมน์ ควันบุหรี่หลังแท่นพิมพ์ดีด
นิตยสาร ไทยโทรทัศน์
พ.ศ.2509




คอลัมน์ ควันบุหรี่หลังแป้นพิมพ์ดีด
นิตยสาร ชาวกรุง
ตั้งแต่ ตุลาคม พ.ศ.2516 - กรกฎาคม พ.ศ.2517




คอลัมน์ ควันบุหรี่หลังแป้นพิมพ์ดีด
นิตยสาร ฟ้าเมืองทอง
ตั้งแต่ฉบับปฐมฤกษ์ เมษายน พ.ศ.2519 - ฉบับที่ 42 กันยายน พ.ศ.2522 

*ส่วนหนึ่งรวมเล่ม แอลกอฮอลิเดย์









วันอาทิตย์ที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2558

เสมือนคำนำ : บริจิตต์ ชบาในไรแดด





[เสมือนคำนำ :
บริจิตต์ ชบาในไรแดด]

ในหนังสืออนุสรณ์เนื่องในงานพระราชทานเพลิงศพ ’รงค์ วงษ์สวรรค์ พ.ศ. 2552 มีการจัดรวบรวมรายชื่อหนังสือทุกเล่มของเขา จัดทำสรุปย่อ รวมทั้งเกร็ดประวัติของหนังสือกว่า 100 เล่มที่ตีพิมพ์จำหน่ายในช่วงชีวิต นั่นเป็นงานที่ทำให้ตระหนักว่า ยากยิ่งที่นักเขียนสักคนจะมีผลงานเป็นที่ยอมรับของผู้อ่านนานหลายทศวรรษและมีจำนวนมากมายเช่นนี้

แต่ 6 ปีผ่านไป เราพบด้วยความตื่นเต้นว่า ‘บริจิตต์ ชบาในไรแดด’ ไม่ได้ถูกรวมอยู่ในจำนวนนั้น ทั้งที่ต้นฉบับชิ้นนี้เขียนขึ้นและทยอยตีพิมพ์ตั้งแต่ พ.ศ. 2525

หรือกว่า 30 ปีที่แล้ว

นี่คือประวัติศาสตร์ที่เพิ่งค้นพบ

เรานำเรื่องนี้ไปปรึกษาคุณสุมาลี วงษ์สวรรค์ ภรรยาของเขา เธอก็ตื่นเต้นแต่ดูไม่ประหลาดใจนัก นำเราไปชมห้องทำงานของ ’รงค์ ซึ่งเก็บทุกอย่างไว้ดุจดังเมื่อเขายังอยู่

เหนือโต๊ะทำงานยังเต็มไปด้วยหนังสือ ผนังข้างที่นั่งยังมีโน้ตแผ่นเล็กกลัดบางความคิดที่วาบแล่นขึ้นมาติดอยู่ คล้ายว่ามันเพิ่งถูกคิดได้และบันทึกเก็บไว้เมื่อวานนี้ และห่างไปราว 2 เมตรตรงหน้า ในตู้ใบใหญ่ท่วมศีรษะ แฟ้มกระดาษจำนวนมากอัดแน่นในนั้น ข้างในเป็นต้นฉบับที่แยกคัดจัดเรียงไว้อย่างประณีต และส่วนใหญ่ยังไม่ได้รวมเล่ม

’รงค์ เป็นนักเขียนที่ทำงานหนักมาก ภาพในความทรงจำของเราก็คือ ราวหลังเวลา 9 นาฬิกาเศษของทุกวัน ’รงค์ ในเครื่องแต่งกายสะอาดและเท่จะนั่งพร้อมที่โต๊ะทำงานของเขา ควันบุหรี่ลอยอ้อยอิ่ง แววตาคิดครุ่น และปลายนิ้วคล้ายขยับเต้นรำเหนือแป้นพิมพ์ดีด

เขาจะเพลิดเพลินกับงานจนเข็มนาฬิกาคล้อยบ่ายจึงจะหยุดเพื่อรับประทานอาหารเที่ยง หลังจากนั้นจึงเป็นเวลาพักผ่อนราว 2-3 ชั่วโมง เขาจะตื่นวอร์มอัพร่างกายด้วยการสนทนากับแมวและต้นไม้ นั่งโต๊ะทำงานและหักโหมกับมันจนเลยล่วงเที่ยงคืน ต้นฉบับแต่ละชิ้นจะมีกระดาษคาร์บอนบันทึกสำเนา

วันหรืออาจจะสองวันรุ่งขึ้น ต้นฉบับถูกส่งให้นิตยสาร ส่วนสำเนาส่งให้คุณสุมาลี เธอรับไปเจาะสีข้างของมัน เก็บรวมไว้ในแฟ้มปกกระดาษ ซึ่งมักจะใช้หลังปกเป็นหน้าปกเพื่อความโล่งสบายตา ทุกปกมีลายมือของเขาและอาจมีบันทึกเพิ่มเติมติดไว้ตามนิสัยช่างคิดและรอบคอบ

นั่นคือที่มาของแฟ้มจำนวนมหาศาล แต่สาเหตุที่มันยังมิได้รวมเล่ม คุณสุมาลีเล่าว่า เป็นเพราะเขายังไม่มีเวลาจะจัดการกับมัน

เมื่อการทยอยดีพิมพ์ในหน้านิตยสารจบลง การทำงานจะเริ่มต้นอีกครั้ง เป็นการเลือกคัดเรื่องหรือจัดลำดับใหม่ ในกรณีเรื่องสั้น หรือการแก้ไขหรือเพิ่มเติมในกรณีสารคดี เรื่องจากบางแฟ้มอาจถูกยุบรวมไปอยู่อีกแฟ้มหนึ่ง บางบทบางตอนยิ่งกว่านั้น มันถูกคัดทิ้งอย่างไม่แยแส ’รงค์ มักใช้ประโยคหนึ่งสอนญาติน้ำหมึกผู้อ่อนอาวุโสว่า “เราจำเป็นต้องฆ่าบางต้นฉบับ ไม่อย่างนั้นมันจะย้อนกลับมาฆ่าเรา”

ต้นฉบับที่คัดสรรจนพอใจแล้วเท่านั้นที่จะได้รับการอนุญาตให้นำตีพิมพ์

ดังนี้ หมายความว่า ‘บริจิตต์ ชบาในไรแดด’ เรื่องนี้ เขายังไม่พอใจเช่นนั้นหรือ ?

สำนักพิมพ์คงไม่สามารถก้าวล่วงทั้งผู้เขียนและผู้อ่านด้วยการยัดเยียดคำตอบตามอัตตาของตน เราเชื่อว่าผู้อ่านสามารถตัดสินคำตอบด้วยตัวเองได้ แต่ยืนยันได้ว่าสิ่งที่เราทำคือทำตามแนวคิดของ ’รงค์ อย่างหนักแน่น คำถามที่เรามีต่อตัวเองและต่อตัวงานก็คือ หนังสือเล่มนี้เป็นไปเพื่อเชิดชูชื่อเสียงของเขา หรือทำให้มันมัวหมองเป็นมลทินกันแน่ ?

เราไตร่ตรองจนได้คำตอบแน่ชัด เป็นคำตอบแรก

เราจึงเชื่อมั่นและภูมิใจนำเสนอสารคดีเล่มนี้ของ ’รงค์ วงษ์สวรรค์

ในห้อมของคลื่นทะเล นิวเมีย (Noumea) หรือนิวคาลิโดเนีย (New Calidonia) เป็นประดุจเพชรแห่งแปซิฟิค โพ้นไปทางตะวันออกของเกาะออสเตรเลียราว 16,000 กิโลเมตร ทอดตัวเกลือกทรายและอาบแสงแรงร้อนของซีกโลกใต้ ว่ากันว่าชาวอังกฤษ กัปตันเจมส์ คุก เป็นผู้ขนานชื่อหมู่เกาะแห่งนี้โดยประหวัดนัยถึงบางตำบลกลางทะเลสก็อตแลนด์ ทว่ามันตกเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศสในเวลาต่อมา แม้ชื่อเสียงจะเพริดแพร้วในนามลากูนที่ใหญ่ที่สุดในโลก แต่โดยความเป็นจริง ชาวโลกรู้จักหมู่เกาะแห่งนี้น้อยมาก อย่าว่าแต่ชาวไทย

คุณสุมาลีเล่าว่า ในปี พ.ศ. 2525 ’รงค์ วงษ์สวรรค์ เดินทางไปพร้อมกับอากร ฮุนตระกูล

แล้วสายตาของนักเขียนก็ทอดผ่านนิตยสาร ‘ฟ้าเมืองไทย’ ถึงผู้อ่าน

มาลองเดาดูก่อนอ่านจริงกันว่า นักเขียนอย่าง ’รงค์แนะนำคนเหินห่างคนละฝั่งซีกโลก แทบไม่รู้จักกันถึงสองคน ผู้อ่านชาวไทยกับนิวเมีย ได้รู้จักกันอย่างไร

ในความเห็นของเรา นี่เป็นงานระดับเอตทัคคะโดยแท้

น่าแปลกที่สารคดีเรื่องนี้ไม่มีชื่อเรื่อง มีเพียงประโยคแนะนำตัวเองโดยบรรณาธิการอาจินต์ ปัญจพรรค์ สมคบกับผู้เขียนร่ายเรียงประโยคแนะนำตัวว่า ‘หลายบทบาทจากหมู่เกาะแพซิฟิคใต้’

ใช่เพราะความไม่มีชื่อเหมาะใจหรือไม่ที่ทำให้ต้นฉบับชุดนี้ซ่อนตัวอยู่ในแฟ้มไร้ชื่อบนปกนานกว่า 3 ทศวรรษ !!!

อย่างไรก็ตาม ทุกบททุกตอนก็มีชื่อย่อยพร้อมสรรพ เริ่มตั้งแต่บรรพ์แรกที่นักเขียนจากกรุงเทพฯ เผชิญหน้าสาวเมลานีเชียนเจ้าถิ่น บริจิตต์สวมแสงแดดจัดจ้านและรอยยิ้มของดอกชบานวดนาดขึ้นมาบนแป้นพิมพ์ดีด บทบาทเดียวกับที่พริ้ง ฟักทอง เดินสง่าผ่าเผยนำขบวน ‘เสเพลบอยชาวไร่’ ในครั้งกระโน้น

เราจึงแจ้งกับคุณสุมาลีว่า ขอยืมชื่อบท ‘บริจิตต์ ชบา ในไรแดด’ มาเป็นชื่อเรื่อง

และได้รับเอื้อเฟื้อตามนั้น

ต้องเรียนท่านผู้อ่านในท้ายที่สุดนี้ด้วยว่า กว่าจะมาเป็นหนังสือเล่มนี้ เราเป็นหนี้น้ำใจเพื่อนหนุ่มหลายคนของ ’รงค์ วงษ์สวรรค์ โดยเฉพาะหยาดเหงื่อและความเพียรของวีระยศ สำราญสุขทิวาเวทย์ ผู้ฉมังต้นฉบับหนังสือเก่า รวมทั้ง เอ้ พันธ์ศักดิ์ สุพงศกร ผู้ช่ำชาญในงานของ ’รงค์, ตูน บุ๊คเคโระ และกล้ารบ ฉายอรุณ ต้องเรียนด้วยว่ายังมีผลงานสืบค้นหนังสือหายากอีกหลายเล่มที่พวกเขาได้ช่วยอำนวยความเป็นจริงให้กับวงการหนังสือและสำนักพิมพ์ไรท์เตอร์ เราจะเล่าขานถึงความพิสดารของพวกเขาอีกหลายครั้งในลำดับต่อไป

หากแต่นาทีนี้ เป็นนาฑีของบริจิตต์ และดอกชบา
และ ไรแดด
และ ’รงค์ วงษ์สวรรค์


สำนักพิมพ์ไรท์เตอร์






วันเสาร์ที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

เรื่องสั้น :: ปลาหลงน้ำรัก ::


























ความพยายามของหมาจิ้งจอกจะกินปลาเป็นผล 
แม้ปลาตัวนั้นจะว่ายอยู่ในกระแสเชี่ยวของความดี....



ประวัติการพิมพ์
- ชาวกรุง (กุมภาพันธ์ 2511)
- หยาดน้ำหมึก (2511)
- อิสตรีอีโรติก (2545)

ชัดเจนตั้งแต่ชื่อเรื่องว่าต้องเป็นแนวอีโรติก เรื่องราวเกี่ยวกับหญิงสาวที่มีชีวิตแต่งงานสมบูรณ์แบบ แต่กลับหลงเพริดไปเพราะจิ้งจอกล่าเหยื่อ!

พิมพ์ครั้งแรกใน ชาวกรุง ปี 2511 ภายใต้นามปากกา ปรูป บางกอก ยังไม่เคยถูกนำมารวมเล่ม ทว่าสามารถหาอ่านได้ง่ายที่สุดในหนังสือ อิสตรีอีโรติก (2545) รวมเรื่องสั้นของหลายนักเขียนโดยสำนักพิมพ์โอเพ่นบุ๊คส์ อย่างไรก็ตาม การจัดพิมพ์ครั้งนี้มีจุดบกพร่องเรื่องถ้อยคำซึ่ง "ผิดคำผิดความหมาย" หรือกระทั่ง "ไม่มีความหมาย" หลายจุด คาดว่าใช้ต้นฉบับจากหนังสือ หยาดน้ำหมึก (2511) เพราะในหยาดน้ำหมึกผิดอย่างไร อิสตรีอีโรติกก็ผิดอย่างนั้น

ฉะนั้น รออ่านจากหนังสือรวมเรื่องสั้นของ 'รงค์ วงษ์สวรรค์ ในอนาคตที่จะนำเรื่องนี้มารวมไว้ดีกว่า เชื่อว่ามีแน่ๆ เมื่อไหร่เมื่อนั้น









วันพุธที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

งานจรในนิตยสาร (3)


งานจร = งานเขียนบทเดียวจบในฉบับ
ส่วนใหญ่ในฐานะนักเขียนรับเชิญเพียงครั้งเดียว
หรือเป็นครั้งคราวตามแต่โอกาส
ไม่ได้เขียนประจำต่อเนื่อง
หรือเป็นนักเขียนขาประจำของนิตยสารนั้นๆ




















งานเขียน : 'รงค์ วงษ์สวรรค์ (หนุ่ม) สัมภาษณ์ผู้หญิงชื่อน้อย คุณจะฝันเปียกถึงหล่อน หลังจากอ่านถึงบรรทัดสุดท้าย
นิตยสาร : หนุ่มสาว ฉบับมินิ 3, 15 ธันวาคม 2523 - 14 กุมภาพันธ์ 2524
ประวัติรวมเล่ม : -----


งานเขียน : ปฏิทิน 'รงค์ วงษ์สวรรค์ (หนุ่ม)
นิตยสาร : แพรว ปีที่ 5 ฉบับที่ 118, 25 กรกฎาคม 2527
ประวัติรวมเล่ม : -----


งานเขียน : ไวน์สีกุหลาบในกลิ่นจำปี
นิตยสาร : WRITER ปีที่ 2 ฉบับที่ 24 กันยายน 2537
ประวัติรวมเล่ม : ส่วนหนึ่งใน ขี่ม้าชมดอกไม้


งานเขียน : การเดินทางเป็นสายตาของนักเขียน
นิตยสาร : อ.ส.ท. ปีที่ 38 ฉบับ 12 กรกฎาคม 2541
ประวัติรวมเล่ม : ----- 






วันศุกร์ที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2558

สนทนาประสานักเดินทาง กับ 'รงค์ วงษ์สวรรค์



คัดจาก เยือนเชียงใหม่ ไต่ดอยสูง สนทนาประสานักเดินทาง กับ 'รงค์ วงษ์สวรรค์
นิตยสารยูงทอง 43 ฉบับรักเดินทาง กุมภาพันธ์ 2551



"เราได้เดินทางเราก็ได้เห็นโลก ถ้าคุณอยู่กับบ้านนะ คุณอยู่เชียงฮาย คุณบ่หันอ่ะหยัง ก็เห็นแม่บ้าน เดินไปมีต้นไม้กี่ต้น มีลำเหมืองกี่ลำเหมืองก็จบแล้ว ยิ่งไปก็จะยิ่งเห็น เห็นข้อเปรียบเทียบ"

"อาคิดว่ามันเป็นเสน่ห์อย่างหนึ่งของการทำงานหนังสือพิมพ์ คิดว่าจะเสนอสิ่งที่เขามองข้าม หรือเขาไม่ทันเหลียวมอง เสนอให้เขาได้มอง"

"เป็นโรคนอนไม่หลับเวลาเดินทาง เขียนหนังสือง่ายที่สุด คือเขียนในที่คนเยอะๆ นั่งเขียนในร้านกาแฟ กินกาแฟ ดูดบุหรี่ไป เขียนหนังสือไป เขียนเสร็จก็เอาไปขาย"

"ถ้าเงียบๆ นะ มันเพ้อเจ้อ พอนั่งเงียบๆ มันจะเลื่อนลอย ปกติอาอยู่อย่างนี้ อาต้องเปิดวิทยุทั้งวัน"

"เปิดวิทยุเอเอ็มดีที่สุด คือเขาพูดในสิ่งที่เราไม่ค่อยสนใจเท่าไหร่ แต่ขอให้มันมีอะไร ให้รู้สึกว่าเราไม่ได้อยู่คนเดียว"

"เคยใฝ่ฝันแบบโง่ๆ ว่าจะเดินทางไปในอวกาศสักครั้ง เป็นไปไม่ได้แล้ว"

"ถึงเดี๋ยวนี้ไม่ได้เดินทาง มันก็มีองค์ประกอบในชีวิตที่ช่วยเยอะ ดูโทรทัศน์ อ่านหนังสือ หนังสือท่องเที่ยวดีๆ สนุก รายการโทรทัศน์ดีๆ ก็สนุก รายการท่องเที่ยว แต่มันน่าเสียดาย ที่ส่วนมากเป็นรายการของประเทศอื่น"

"เคยใฝ่ฝันว่าตัวเองอยากจะทำรายการสารคดีโทรทัศน์ ใฝ่ฝันไว้ แต่มันก็เลิกล้มความคิดนี้มานานแล้ว"







**ขอบคุณคุณปิยกุล ภูศรี เอื้อเฟื้อนิตยสารยูงทองฉบับนี้ 




วันศุกร์ที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2558

สมุด-สมุด-สมุด


จำหน่ายในงานหนังสือที่ศูนย์ฯสิริกิติ์เมื่อหลายปีก่อน


สมุดฉีกจากงานฉลอง 50 ปี สำนักพิมพ์ประพันธ์สาส์น ปี 2555


สมุดบันทึก โปรโมชั่นในเทศกาล Armchair Book Fair # 3 ของสำนักพิมพ์ Openbooks ปี 2557