หล่อนรับหน้าที่ปลดเปลื้องกำหนัดให้ประชาชนโดยไม่เอาเงิน! ความเป็นพลาสติคของหล่อนไม่มีความจำเป็นต้องเรียกร้องสิ่งไรทั้งนั้น แต่ความเห็นแก่ตัวของผู้ชายต่างพยายามช่วงชิงยัดเยียดให้หล่อน...
สุดท้ายหล่อนได้รับบทเรียน (ซึ่งหล่อนไม่อาจเข้าใจ) ว่า หล่อนเป็นผู้หญิงดอกทองได้ แต่เป็นกะหรี่ที่ไม่เรียกร้องผลประโยชน์ไม่ได้!
....
ประวัติการพิมพ์ (เท่าที่มีข้อมูล)
- แม่ม่ายบุษบง พิมพ์ครั้งที่ 1 (2517)
- แมน (2517)
- ส่องไทย (2518)
ผลงานเขียนลงวันที่ 4 มกราคม 2517 ข้อมูลท้ายเรื่องในหนังสือ แม่ม่ายบุษบง ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 1 ระบุว่าเขียนเพื่อลงใน ลลนา โดยยังไม่ทราบว่านำลงพิมพ์แล้วหรือไม่ อย่างไรก็ตาม หันหลังให้ พ.ศ.2517 ตีพิมพ์ในนิตยสาร แมน ในปีเดียวกัน จึงเป็นไปได้ว่าไม่ได้ลงในลลนาอย่างที่ตั้งใจไว้แต่แรก
เรื่องราวเกี่ยวกับผู้หญิงพลาสติกที่ผู้คนหลงใหลแห่แหนแต่สุดท้ายเกลียดชัง 'รงค์ วงษ์สวรรค์ เขียนเรื่องนี้ด้วยแฟนตาซีเกินจริงแบบที่เรียกว่า Feminist science fiction สื่อถึงสถานะของผู้หญิงที่ถูกสังคมยัดเยียดตัดสิน ใช้เรื่องเพศมาเสียดเย้ยความจอมปลอม-เอาแต่ได้อย่างแสบสันต์
หันหลังให้ พ.ศ.2517 เคยถูกถ่ายทอดเป็นละครเวทีแบบแสดงเดี่ยวในชื่อ ผู้หญิงพลาสติก (Plastic Woman) 2 ครั้ง ครั้งแรกจากมุมมองของผู้หญิง แสดงโดย อรชุมา ยุทธวงศ์ (2539) และจากมุมมองของผู้ชาย แสดงโดย อัษฎาวุธ เหลืองสุนทร (2541-2545)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น