วันศุกร์ที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

นวนิยายไม่มีบทสุดท้าย (1) : ดอกไม้และงูพิษ


หนังสือปกอ่อนรายเดือนชุด "เดินเคียงกัน"

ช่วงปลายปี 2519 ถึงต้นปี 2520 'รงค์ วงษ์สวรรค์ จัดทำหนังสือปกอ่อนรายเดือนภายใต้ชื่อชุด เดินเคียงกัน โดยตั้งใจให้ออกมาพร้อมเพรียงเคียงกันกับหนังสือ สามกษัตริย์ ของเพื่อนสนิท รัตนะ ยาวะประภาษ นอกจากจะแสดงถึงมิตรภาพของทั้งสองแล้ว ยังตั้งใจให้มีเนื้อหาสอดคล้องกัน แต่ด้วยมุมมองที่ต่างกันไปของแต่ละคน

ทว่าปัญหาทางการเมือง (6 ตุลา) และความไม่พร้อมบางอย่าง หนังสือชุด เดินเคียงกัน ของทั้งสองต่างซัดเซไปจากเป้าหมาย กระทั่งพับโครงการไปหลังจากทำได้เพียง 3 เล่ม

3 เล่มในชุด เดินเคียงกัน ของ 'รงค์ วงษ์สวรรค์ ได้แก่ จากแชมเปญถึงกัญชา ดอกไม้และงูพิษ และ ยิน โทนิค 28 ดีกรี


ดอกไม้และงูพิษ ในหนังสือชุดเดินเคียงกัน

"ดอกไม้และงูพิษ" เป็นเรื่องแต่งที่ตีพิมพ์ต่อเนื่องใน 3 เล่มดังกล่าว เกี่ยวกับตัวละครชื่อ แวง ไสไลสำริด อดีตทหารรับจ้างที่ผันตัวมาเปิดบาร์ในตำบลริมทะเลตะวันออก

เมื่อ 'รงค์ วงษ์สวรรค์ ยุติการทำหนังสือชุดเดินเคียงกัน "ดอกไม้และงูพิษ" จึงถูกทิ้งค้างไว้เพียงบทที่ 17 ซึ่งยังเป็นส่วนแนะนำตัวละครและปูเรื่องราวเท่านั้น


แวง ไสไลสำริด 28 ในนิตยสารกามเทพ

สืบค้นประวัติการตีพิมพ์พบว่า "ดอกไม้และงูพิษ" ตีพิมพ์ครั้งแรกในชื่อ แวง ไสไลสำริด 28 ในนิตยสาร กามเทพ ที่มี กิตติ โหลทอง เป็นบรรณาธิการ และ จงรัก จันทร์คณา เป็นหัวหน้ากองบรรณาธิการ ตั้งแต่ฉบับปฐมฤกษ์ ปลายปี 2517 ต่อเนื่องอย่างน้อยถึงฉบับที่ 5 เดือนมิถุนายน 2518

ส่วนจะเขียนต่อไปถึงฉบับใดเรายังไม่มีข้อมูล แต่อาจเป็นไปได้ว่านิตยสารกามเทพปิดตัวลงก่อนที่  "ดอกไม้และงูพิษ"  ถึงบทสุดท้ายเช่นกัน (และอาจจะสั้นกว่าที่ตีพิมพ์ในหนังสือชุดเดินเคียงกัน)


ดอกไม้กับงูพิษ ในนิตยสาร The Quiet Storm

หลังจาก "ดอกไม้และงูพิษ" ปรากฏครั้งแรกในนิตยสารกามเทพ และครั้งที่สองในหนังสือปกอ่อนชุดเดินเคียงกันแล้ว

อารี แท่นคำ เมื่อครั้งคุมบังเหียนนิตยสารดนตรีทะลวงรูหูอย่าง The Quiet Storm ได้นำเรื่อง "ดอกไม้และงูพิษ" มาพิมพ์ซ้ำอีกครั้งตั้งแต่ฉบับที่ 100 ปลายปี 2532 ต่อเนื่องถึงฉบับที่ 108 (รวม 6 เล่ม เนื่องจากบางเล่มควบ 2 ฉบับ) ในชื่อ "ดอกไม้กับงูพิษ"

อย่างไรก็ตาม เนื้อหาของ "ดอกไม้และงูพิษ" ครั้งนี้นำมาจากหนังสือชุดเดินเคียงกันทั้งหมด ซึ่งหมายความว่าเรื่องราวของ แวง ไสไลสำริด ยังคั่งค้างอยู่เท่าเดิม

กระทั่ง "ดอกไม้และงูพิษ" เป็นหนึ่งในนวนิยายไม่มีบทสุดท้ายของ 'รงค์ วงษ์สวรรค์ มาถึงทุกวันนี้







วันเสาร์ที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

update : หนังสือที่มีงานเขียนของ 'รงค์ วงษ์สวรรค์




วังตะไคร้ / เสเพลบอยบันทึก / พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานประดิษฐานพระรูปฯ 2506

หนีไม่พ้นความรัก / คนตาบอด  (นามปากกา แค โพธาราม) / บรรณาคาร 2512

อาหารเช้าคนดัง / ....(ไม่มีชื่อ)..... / กลุ่มอักษราบรรณ ไม่ระบุ พ.ศ.







วันอาทิตย์ที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2559

"หยิบ"... นามปากกาที่ 17



"หยิบ"

คือนามปากกาของ 'รงค์ วงษ์สวรรค์ ที่ยืนยันได้ล่าสุด

งานเขียนที่ช่วยให้เรายืนยันได้คือ เรื่องเล่าเชิงสารคดีเรื่อง ความร้ายกาจของตั๊กแตน โดยผู้เขียนที่ใช้นามปากกาว่า "หยิบ" ตีพิมพ์ใน ชาวกรุง ปีที่ 16 ฉบับที่ 9 มิถุนายน พ.ศ.2510 ถูกนำมาตีพิมพ์รวมอยู่ในหนังสือ พรานล่าอารมณ์ขัน ของ 'รงค์ วงษ์สวรรค์

ลองกูเกิลดูก็พบว่าต้นเรื่องของงานเขียนชิ้นนี้เป็นรายงานข่าวใน The San Bernardino County Sun หนังสือพิมพ์ท้องถิ่นของแคลิฟอร์เนียใต้ ฉบับวันที่ 9 มีนาคม ปี 1967 (หรือ พ.ศ.2510) สถานที่และช่วงเวลาเดียวกับการนิราศดิบของ 'รงค์ วงษ์สวรรค์ 

ไม่แน่ใจว่ามีงานเขียนภายใต้นามปากกา "หยิบ" อีกหรือไม่

อย่างไรก็ดี "หยิบ" คือนามปากกาของ 'รงค์ วงษ์สวรรค์ ลำดับที่ 17 ที่เรายืนยันได้และบันทึกไว้








วันอาทิตย์ที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2559

บทสัมภาษณ์ในวารสารโบราณคดี




วารสารโบราณคดี คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร ปีที่ 2 ฉบับที่ 2 มกราคม-มีนาคม พ.ศ.2512 ตีพิมพ์บันทึกบทสัมภาษณ์ 'รงค์ วงษ์สวรรค์ โดย ขรรค์ชัย บุนปาน จากงานที่จัดโดยชมรมศึกษาวัฒนธรรม-โบราณคดี เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ.2511 ณ ท้องพระโรง วังท่าพระ 

บทสัมภาษณ์นี้ต่อมาตีพิมพ์ในหนังสือ โขนถอดหัว ของ ขรรค์ชัย บุนปาน (ประพันธ์สาส์น, 2512) 

และรวมอยู่ในหนังสือ วานปีศาจตอบ รวมบทสัมภาษณ์ 'รงค์ วงษ์สวรรค์

น่าเสียดายที่รูปถ่ายจากงานสัมภาษณ์ทุกรูปที่ลงในวารสารไม่มีความคมชัดพอจะนำมาเผยแพร่ซ้ำได้











วันอังคารที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2558

'รงค์ วงษ์สวรรค์ ร่ายป่า-ราวดอย



คัดจาก 'รงค์ วงษ์สวรรค์ ร่ายป่า-ราวดอย 
สานใจคนรักป่า, เล่มที่ 47 กรกฎาคม-สิงหาคม 2544



"อาเป็นคนรักป่า แต่ไม่ใช่นักอนุรักษ์ป่าอย่างที่เขาหมายถึง นักอนุรักษ์ป่าเขาหมายถึงใครไม่รู้ หมายถึงคนที่นั่งอยู่ในห้องแอร์หรือเปล่า นานๆ เดินออกมาทีเห็นป่าก็ตื่นเต้นและคิดจะอนุรักษ์หมด ต้นไม้ล้มหนึ่งต้นก็นั่งร้องไห้

"อารักป่าโดยความรู้สึกว่าป่ากับคนต้องอยู่ด้วยกันได้ ต้องเอื้อเฟื้อต่อกันได้ คือคนก็ต้องไม่รังแกป่า ป่าไม่รังแกคนอยู่แล้ว แต่ว่าจะอยู่กันอย่างไรนี้คือปัญหา

"การทำลายป่าในประเทศไทย มันเริ่มต้นในสมัยรัฐบาลทหาร รัฐบาลในทศวรรษที่ผ่านมาที่มีความคิดเผด็จการเขาทำลายป่ากันแทบทุกภาคของประเทศไทย เพื่อจะตัดไม้เป็นธุรกิจ คนธรรมดาไม่มีใครทำลายป่าได้ ไม่มีอำนาจ ไม่มีเครื่องมือ เครื่องมือที่สำคัญที่สุดคือปืน

"ต้นไม้ใหญ่ๆ มันถูกทำลายไปหลายสิบปีแล้ว อย่าลืมที่เราเรียกว่าต้นไม้ใหญ่นั้นอายุควรจะ 100 ปีขึ้นไป 200 ปีถึง 300 ปี โดนตัดขายไปหมดแล้ว ตัดขายไปเป็นทุนรอนปฏิวัติรัฐประหาร ตัดไปเพิ่มต้วเลขในบัญชีธนาคาร

"การเป็นคนรักป่าไม่ได้แปลว่าเป็นคนไม่กินใบไม้ กินนะ ต้องกินใบไม้ ต้องหักแขนหักขาป่าบ้าง เอามาทำฟืน ไม่ใช่ปล่อยให้ฟืนมาหล่นใส่หลังคาบ้าน

"คนอยู่ในป่าคารวะป่า เขามีกฎเกณฑ์ เขาจะกลัวต้นไม้ใหญ่ๆ มากเหลือเกินว่ามันจะมีผีสางนางไม้ อย่างนี้จะทำให้ป่าไม่ตาย แต่เขาควบคุมตัวเองไม่ได้ เมื่อจำนวนประชากรมากขึ้น และเมื่อความเจริญอย่างน่าทุเรศที่ภาษารัฐบาลเรียกว่าการ "พัฒนา" ทะลักเข้ามาในหมู่บ้าน

"ชาวบ้านปลูกพริก ก็ปลูกกันทุกบ้านจะไปขายใครที่ไหน แล้วเขาทำไง เขาต้องรุกป่าสิครับ พอมีคนมาแนะนำให้ปลูกกระเทียม เอาแล้ว ใครห้ามก็ไม่ได้หรอก...

"ต้องส่งเสริมให้มีคนแบบพะตีจอนิ โอโดเชา น่าจะมีคนอย่างนั้นมากๆ และต้องมีคนแบบนี้มาเอดูเคทกับคนที่เขาอยู่ในป่าด้วย แต่ว่าไม่ใช่ไปปลุกระดมให้เป็นศัตรูกับองค์กรของรัฐ องค์กรของรัฐก็เหมือนกันจะต้องถ่อมตัวลงมา ให้มาเดินคุยกับคนในป่า รู้จักยกมือไหว้กับคนในป่าเขาบ้าง

"จะแก้ปัญหาคนในป่าต้องเข้าใจคนในป่า เหมือนอามาอยู่ที่นี่อาเน้นเสมอ อามาน้อมต่อป่านะ ต้องศึกษาว่าใบไม้ไหนจะร่วงเดือนไหน จะโปร่งเดือนไหน เดินดูแลเขา พอเห็นเขาจะเป็นโรคต้องพรูนนิ่งซิสเต็ม ไปตัดกิ่งตัดก้านที่มีเชื้อรา เชื้อโรค .. นี่ต้องศึกษาเขา ดูแลเขา"






วันพฤหัสบดีที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2558

อ่าน 'รงค์ วงษ์สวรรค์ (2) : บทสัมภาษณ์/บันทึกสนทนา (update 17-01-59)




'รงค์ วงษ์สวรรค์ / ขรรค์ชัย บุนปาน
วารสารโบราณคดี, ปีที่ 2 ฉบับที่ 2 มกราคม-มีนาคม 2512 [รวมอยู่ใน วานปีศาจตอบ]

ปรายตามองสาว
ลลนา, ฉบับที่ 3 ปักษ์แรก กุมภาพันธ์ 2516 [รวมอยู่ใน วานปีศาจตอบ]

สัมผัสความรู้สึกหลังแผงหนวดของ 'รงค์ วงษ์สวรรค์ / พราย ภูวดล (ประภัสสร เสวิกุล)
ขวัญดาว, ปีที่ 1 ฉบับที่ 7 พฤศจิกายน 2517

พบนักเขียน 'รงค์ วงษ์สวรรค์ (หนุ่ม)
สกุลไทย, ปีที่ 24 ฉบับที่ 1216 อังคารที่ 7 กุมภาพันธ์ 2521

'รงค์ วงษ์สวรรค์ กับกามารมณ์ของเขา / ชาวา กัญญ์ (ณิพรรณ กุลประสูตร)
หนุ่มสาว, ฉบับที่ 14 พฤษภาคม 2521

'รงค์ วงษ์สวรรค์
เอ็กเซ็กคิวทีฟ, ปีที่ 2 ฉบับที่ 12 2524

นัดพบ 'รงค์ วงษ์สวรรค์ (หนุ่ม) / ไพลิน รุ้งรัตน์
สยามรัฐสัปดาหวิจารณ์, ปีที่ 29 ฉบับที่ 26 วันอาทิตย์ที่ 19 ธันวาคม 2525 [รวมอยู่ใน วานปีศาจตอบ]

วานปีศาจตอบ
ถนนหนังสือ, ปีที่ 2 ฉบับที่ 6 ธันวาคม 2527 [รวมอยู่ใน วานปีศาจตอบ]

จากเรือนริมน้ำของ 'รงค์ วงษ์สวรรค์ / พิมพ์สี
แพรว, มีนาคม 2528 [รวมอยู่ใน วานปีศาจตอบ]

หลายคำตอบของ 'รงค์ วงษ์สวรรค์ 
ถนนหนังสือ, ปีที่ 5 ฉบับที่ 3 กันยายน 2530 [คัดจาก ถึงป่าคอนกรีท]

'รงค์ วงษ์สวรรค์ / อารี แท่นคำ
The Quiet Storm, ฉบับที่ 67/2530



'รงค์ วงษ์สวรรค์ นักเขียนผู้รุ่มรวยอารมณ์ คนที่คุณอาจรู้จัก หรือไม่รู้จักเลย
Looks, ปีที่ 5 ฉบับที่ 60 ตุลาคม 2531

รงค์ วงษ์สวรรค์ พ.ศ.นี้ทำอะไรอยู่
HI-CLASS, ปีที่ 6 ฉบับที่ 69 มกราคม 2533

อิสรชนคนของวรรณกรรม 'รงค์ วงษ์สวรรค์ / จันทร์สถาพร
คอลัมน์คนบนถนนนักเขียน, WRITER, ปีที่ 1 ฉบับที่ 2 พฤศจิกายน 2535

ขุดรากอารมณ์ภาษา 'รงค์ วงษ์สวรรค์ นักเขียนใหญ่ไฟยังแรง / สัจภูมิ ละออ
มติชนสุดสัปดาห์, ปีที่ 13 ฉบับที่ 683, 24 กันยายน 2536

ชีวิตจริง และความจริงของชีวิต 'รงค์ วงษ์สวรรค์ นายภาษาแห่งสวนทูนอิน / สัจภูมิ ละออ
ศิลปวัฒนธรรม, ปีที่ 15 ฉบับที่ 1 พฤศจิกายน 2536

'รงค์ วงษ์สวรรค์ พญาอินทรีแห่งดงอักษร
GM, ปีที่ 8 เล่มที่ 120 ปักษ์หลัง เมษายน 2537

ลูกผู้ชายชื่อ ’รงค์ วงษ์สวรรค์ คนของแม่น้ำ แผ่นดิน และป่าไพร / อรสม สุทธิสาคร
สารคดี, ปีที่ 10 ฉบับที่ 113 กรกฎาคม 2537 [รวมอยู่ใน วานปีศาจตอบ]

พญาอินทรีแห่งฟ้าอักษร ’รงค์ วงษ์สวรรค์ / จารึก วิสิฏฐา
สีสัน, ปีที่ 7 ฉบับที่ 10 พฤษภาคม 2538

'รงค์ วงษ์สวรรค์ นักเขียนผู้ไม่เคยมีวันหยุด
วาไรตี้, ปีที่ 4 ฉบับที่ 60 ปักษ์หลัง กรกฎาคม 2539

กรรมกรในงานศิลป์ ’รงค์ วงษ์สวรรค์
ขวัญเรือน, ปีที่ 29 ฉบับที่ 603 ปักษ์แรก มกราคม 2540



'รงค์ วงษ์สวรรค์ ผมเป็นคนแปลกหน้าสำหรับกรุงเทพ!
WRITER, ปีที่ 6 ฉบับที่ 9 กันยายน 2540

ในโลกของนักอ่าน ในนามผู้เฝ้ามองสังคม
คอลัมน์ห้องหนังสือ, Life & Decor, ปีที่ 7 ฉบับที่ 73 กันยายน 2540

'รงค์ วงษ์สวรรค์ พญาอินทรีบินเหนือดอยสูง
WRITER, ปีที่ 7 ฉบับที่ 6 (61) มิถุนายน-กรกฎาคม 2541 [รวมอยู่ใน วานปีศาจตอบ]

น้ำค้างหยดเดียวในความเป็น 'รงค์ วงษ์สวรรค์
ผู้จัดการรายวัน, วันพุธที่ 14 กรกฎาคม 2542

'รงค์ วงษ์สวรรค์ คืนถิ่นลุ่มน้ำแม่กลอง (1)
สยามรัฐสัปดาหวิจารณ์, 25-31 กรกฎาคม 2542 [รวมอยู่ใน วานปีศาจตอบ]

'รงค์ วงษ์สวรรค์ คืนถิ่นลุ่มน้ำแม่กลอง (2)
สยามรัฐสัปดาหวิจารณ์, 1-7 สิงหาคม 2542 [รวมอยู่ใน วานปีศาจตอบ]

จาก 'รงค์ วงษ์สวรรค์ ถึงนักเขียนหนุ่ม
สยามรัฐสัปดาหวิจารณ์, 8-14 สิงหาคม 2542 [รวมอยู่ใน วานปีศาจตอบ]

ชีวิตของตัวอักษร 'รงค์ วงษ์สวรรค์ / ยุทธนา วรุณปิติกุล
เสาร์สวัสดี กรุงเทพธุรกิจ, ฉบับที่ 56 วันเสาร์ที่ 17 มิถุนายน 2543

'รงค์ วงษ์สวรรค์ บน Milestone เรท X / องอาจ ฤทธิ์ปรีชา
M, ปีที่ 2 เล่มที่ 20 ตุลาคม 2543

’รงค์ วงษ์สวรรค์ รำพึงรำพันจากห้วยบวกเขียด / สัจภูมิ ละออ
จุดประกายวรรณกรรม กรุงเทพธุรกิจ, ปีที่ 14 ฉบับที่ 4517 วันเสาร์ที่ 3 กุมภาพันธ์ 2544



'รงค์ วงษ์สวรรค์ ร่ายป่า-ราวดอย
สานใจคนรักป่า, เล่มที่ 47 กรกฎาคม-สิงหาคม 2544

รงค์ วงษ์สวรรค์...งูยังไม่ตาย วัดความยาวไม่ได้
พลเมืองเหนือ, ฉบับที่ 29 ประจำวันที่ 13-19 พฤษภาคม 2545

ลาบหลู้ซาลูน บ้านเทวดาเป็นใจของ 'รงค์ วงษ์สวรรค์ / "มนูญ"
บ้านและสวน, ปีที่ 26 ฉบับที่ 310 มิถุนายน 2545

'รงค์ วงษ์สวรรค์ the writer's secret 
HEALTH & CUISINE, ปีที่ 3 ฉบับที่ 28 พฤษภาคม 2546

...with อาว์ 'รงค์ and a dog a day (HA-HA) : บทสนทนาของคน(หนุ่ม) - but a breath and a shadow! 
คอลัมน์ a day with a view, a day, ปีที่ 4 ฉบับที่ 41 มกราคม 2547 [รวมอยู่ใน วานปีศาจตอบ]

สุภาพบุรุษเสรีชน : 'รงค์ วงษ์สวรรค์ / ตติกานต์ อุดกันทา
a day weekly, ปีที่ 1 ฉบับที่ 13, 13-19 สิงหาคม 2547

'รงค์ วงษ์สวรรค์ พญาอินทรีแห่งดงอักษร
GM, ปีที่ 20 เล่มที่ 333 เมษายน 2549

Beat on, Beat in, Beat out ของ 'รงค์ วงษ์สวรรค์ / ชัยพร อินทุวิศาลกุล
Underground Buleteen วารสารหนังสือใต้ดิน, vol. 11 เมษายน 2550

เยือนสวนทูนอิน อ่านชีวิต ความคิด 75 กะรัต 'รงค์ วงษ์สวรรค์
ขวัญเรือน, ฉบับที่ 855 ปักษ์แรก กรกฎาคม 2550

เยี่ยมรังพญาอินทรี 'รงค์ วงษ์สวรรค์ สวนทูนอิน...สวรรค์บนดิน
ชีวิตต้องสู้, ปีที่ 15 ฉบับที่... 16-31 ตุลาคม 2550



เยือนเชียงใหม่ ไต่ดอยสูง สนทนาประสานักเดินทาง กับ 'รงค์ วงษ์สวรรค์
ยูงทอง 43 ฉบับรักเดินทาง, กุมภาพันธ์ 2551

เสียงพูดสุดท้าย 'รงค์ วงษ์สวรรค์ / วรพจน์ พันธุ์พงศ์
สารคดี, ฉบับที่ 290 เมษายน 2552 [คัดจาก เสียงพูดสุดท้าย]

สนทนากับ 'รงค์ วงษ์สวรรค์
ศิลปวัฒนธรรม, ปีที่ 30 ฉบับที่ 7 พฤษภาคม 2552

'รงค์ วงษ์สวรรค์ ในฐานะพ่อ / วรพจน์ พันธุ์พงศ์
Openbooks Review, No.1 summer 2009 [คัดจาก เสียงพูดสุดท้าย]

สัมผัสความรู้สึกหลังแผงหนวด 'รงค์ วงษ์สวรรค์
ขวัญเรือน, ฉบับที่ 906 ปักษ์หลัง สิงหาคม 2552






**ขอบคุณผู้เอื้อเฟื้อข้อมูล

**ช่วยกันเพิ่มเติมได้ครับ ข้อมูลนี้เป็นข้อมูลสาธารณะเพื่อการค้นคว้าอ้างอิง บล็อกพญาอินทรีเป็นเพียงผู้รวบรวม





สนับสนุนโดย ร้านหนังสือ Book Eden

วันเสาร์ที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

หนังสือที่เกี่ยวเนื่องกับ 'รงค์ วงษ์สวรรค์













อนุสรณ์


ที่ระลึกงานพระราชทานเพลิงศพ 'รงค์ วงษ์สวรรค์ (เล่มใหญ่) (ไรท์เตอร์ พ.2/57)

ที่ระลึกงานพระราชทานเพลิงศพ 'รงค์ วงษ์สวรรค์ (เล่มเล็ก)










ถ้อยคำสัมภาษณ์


'รงค์ วงษ์สวรรค์ บน Milestone เรท X / องอาจ ฤทธิ์ปรีชา (หนังสือทำมือ)

วานปีศาจตอบ (มติชน พ.1/49 / ฟรีฟอร์ม พ.2/52)

เสียงพูดสุดท้าย 'รงค์ วงษ์สวรรค์ / วรพจน์ พันธุ์พงศ์ (ไต้ฝุ่น พ.1-พ.2/52 / บางลำพู พ.3/57)











เนื่องจากงานเขียน


'รงค์ วงษ์สวรรค์ สำเริง (มติชน พ.1/39) 

พจนานุกรม 'รงค์ วงษ์สวรรค์ ฉบับย่น พ.ศ.2547 (แจกฟรีกับนิตยสาร a day ฉบับที่ 41)

เพรียวนม (ไรท์เตอร์ พ.1/57)










เหลี่ยมมุมชีวิต


'รงค์ วงษ์สวรรค์ ผู้ยิ่งยงแห่งสวนทูนอิน / ถวัลย์ มาศจรัส (มิติใหม่ พ.1/39)

อินทรีผงาดฟ้า / ณรงค์ จันทร์เรือง (ประพันธ์สาส์น พ.1/52)

โบยบินอย่างอินทรี / ณรงค์ จันทร์เรือง (ประพันธ์สาส์น พ.1/52) 

Bridge สะพานข้ามเวลาของ 'รงค์ วงษ์สวรรค์ และเพื่อนหนุ่ม (โอเพ่นบุ๊กส์ พ.1/52)

สวนนักเขียน 'รงค์ วงษ์สวรรค์ / แพร จารุ + ถนอม ไชยวงษ์แก้ว (ถนอมแพร พ.1/53)








สนับสนุนโดย ร้านหนังสือ Book Eden